เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic : "..นิทานพยัญชนะ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) : นักเรียน สามารถคาดเดาเรื่องหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล อธิบายให้คนอื่นฟังได้ อ่านคำและเรื่องราวได้ อีกทั้งสามารถถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนได้ เป็นผู้ที่มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน มีมารยาทในการอ่าน ฟัง พูด เขียนที่ดี



Week 2


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่  ๑  Quarter  2   ปีการศึกษา ๒๕๕๗                                                                                                                                                                                                                                                                              ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
สัปดาห์ที่  ๒  วันที่  ๑๓– ๑๕   สิงหาคม ๒๕๕๗                                                                                                                                                                                                                                                                     เวลาเรียน ๕  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  นิทานพยัญชนะ กากับไก่
สาระสำคัญ :  พยัญชนะไทย (ก – ค) มีความสำคัญในการประสมคำ ทำให้คำมีความหลากหลายและนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง และนิทานพยัญชนะก็เป็นวรรณกรรมขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการประสมคำ จากพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เป็นเรื่องราวที่สร้างความสนใจให้เด็กอยากอ่าน อยากเรียนรู้ มีความสนุกสนานพร้อมแทรกข้อคิดที่เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้
Big Question:    พยัญชนะไทย (ก – ค) เกี่ยวข้องกับนิทานที่เราได้ฟังและอ่านอย่างไรบ้าง และสามารถนำสิ่งใดจากนิทานมาปรับใช้ได้บ้าง
เป้าหมายย่อย :    นักเรียนสามารถอ่านคำ เรื่องราวในนิทานและเล่าลำดับเหตุการณ์ในเรื่องได้ แจกลูกคำ สะกดคำ และประสมคำในมาตราแม่ ก กา ได้ สามารถถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูด ฟัง และนำสิ่งที่ได้จากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้



Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พุธ
โจทย์
นิทานพยัญชนะ เรื่อง กาไก่แกะ
คำถาม:
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามว่า นักเรียนเห็นคำใดที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ก ไก่บ้าง
เครื่องมือคิด :
Brainstorming
- Key Questions
- พฤติกรรมสมอง
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
นิทานพยัญชนะไทย

ขั้นนำ 
 ครูสนทนาพูดคุยกับนักเรียนระหว่างช่วงที่เป็นวันหยุดนักเรียนได้ไปทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง
ขั้นสอน
ชง  : ครูพานักเรียนร้องเพลงพยัญชนะ ก ไก่
เชื่อม :
- ครูให้นักเรียนร้องเพลงพยัญชนะแล้วครูกระตุ้นด้วยคำถามว่า นักเรียนเห็นคำใดที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ก ไก่บ้าง
 - นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนเขียนคำที่มีพยัญชนะขึ้นต้นด้วย ก ไก่ พร้อมทั้งวาดภาพประกอบลงในสมุดงาน
ขั้นสรุป   
 ครูตรวจงานและสอบถามความเข้าใจของนักเรียนเป็นรายบุคคล
ชิ้นงาน
-คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะก.ไก่ พร้อมวาดภาพประกอบลงในสมุดงาน
 - ภาระงาน
 สามารถพูดอธิบายเกี่ยวกับนิทานที่ฟังและลักษณะของตัวละครได้
- สามารถพูดอธิบายความหมายของคำศัพท์
พูดสื่อความให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างเหมาะสม
- สามารถนำคำศัพท์ไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสาร
ได้เหมาะสม

ความรู้
สามารถพูดอธิบายเกี่ยวกับนิทานที่ฟังและลักษณะของตัวละครได้
ทักษะ
สามารถสร้างสรรค์ภาพประกอบ ของตนเองได้
สามารถสื่อสารกับผู้อื่น และนำเสนองานได้อย่างมั่นใจ
สามารถฟังและแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์
 - เขียนถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการบันทึกต่างๆได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เคารพสิทธิ์ตนเองและผู้อื่น เช่น ตั้งใจฟัง ยกมือก่อนพูด ส่งงานตรงเวลาฯลฯ


Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พฤหัสบดี
โจทย์
นิทานพยัญชนะ
เรื่อง เขียดเขียว

คำถาม:
- ครูกระตุ้นคำถาม นักเรียนเห็นพยัญชนะตัว ก ไก่ อยู่ตรงไหนบ้าง

เครื่องมือคิด :
Brainstorming
- Key Questions
- พฤติกรรมสมอง
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
นิทานพยัญชนะไทย


ขั้นนำ 
 ครูเล่านิทาน กา กับ ไก่ ให้นักเรียนฟังครูกระตุ้นคำถาม นักเรียนเห็นพยัญชนะตัว ก ไก่ อยู่ตรงไหนบ้าง“ นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
ขั้นสอน
ชง : ครูเล่านิทานเรื่อง เขียดเขียว ให้นักเรียนฟัง
เชื่อม :  ครูนำภาพจากนิทาน กา กับ ไก่ มาติดให้นักเรียนดู ครูกระตุ้นด้วยคำถาม ภาพที่นักเรียนเห็น สอดคล้องกับประโยคใดในนิทาน เรื่อง เขียดเขียวนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันบนกระดาน
ใช้ : คำศัพท์ที่มีพยัญชนะ ข. ไข่  พร้อมภาพ ประกอบ
ขั้นสรุป   
 ครูให้การบ้านนักเรียนคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด คำว่า เขียดเขียว ๑๐ จบ
ชิ้นงาน
- Mind mapping  กิจกรรมการเรียนรู้
ภาระงาน
 - สามารถอธิบายเกี่ยวกับนิทานที่ฟังได้
- สามารถพูดอธิบายความหมายของคำศัพท์
พูดสื่อความให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างเหมาะสม
- สามารถนำคำศัพท์ไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสาร
ได้เหมาะสม


ความรู้
สามารถพูดอธิบายเกี่ยวกับนิทานที่ฟังได้
ทักษะ
สามารถสร้างสรรค์ภาพประกอบ ของตนเองได้
สามารถสื่อสารกับผู้อื่น และนำเสนองานได้อย่างมั่นใจ
สามารถฟังและแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์
 - เขียนถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการบันทึกต่างๆได้

คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เคารพสิทธิ์ตนเองและผู้อื่น เช่น ตั้งใจฟัง ยกมือก่อนพูด ส่งงานตรงเวลาฯลฯ


Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
ศุกร์
โจทย์
- นิทานพยัญชนะ
เรื่อง ควาย คอย คน
- สรุปองค์ความรู้ Mind mapping

คำถาม:
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามว่า นักเรียนจะหากนำพยัญชนะไทย ค มาวางไว้ใกล้กับสระอา จะออกเสียงว่าอย่างไร”

เครื่องมือคิด :
Brainstorming
- Key Questions
- พฤติกรรมสมอง
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
นิทานพยัญชนะไทย
-หนังสือนิทานพยัญชนะเรื่อง ควาย คอย คน

ขั้นนำ 
 ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากเมื่อวาน
ขั้นสอน
ชง : ครูวาดภาพบนกระดาน แล้วตั้งคำถามว่า ภาพนี้มาจากพยัญชนะไทยตัวอะไร กับ สระอะไรนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของนักเรียน
“หากนำพยัญชนะไทย ค มาวางไว้ใกล้กับสระอา จะออกเสียงว่าอย่างไร”
ใช้ :
- นักเรียนเขียนพยัญชนะไทย (ที่มีอยู่ในชื่อเรื่อง ควาย คอย คน) ในมาตราแม่ ก. กา พร้อมวาดภาพประกอบ
- นักเรียนเขียนสรุปกิจกรรมในรูปแบบ Mind mapping
ขั้นสรุป   
 นักเรียนนำเสนอ Mind mapping สรุปองค์ความรู้
ชิ้นงาน
Mind mapping  กิจกรรมการเรียนรู้
 - ภาระงาน
-สามารถนำคำศัพท์ไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสารได้เหมาะสม

ความรู้
สามารถพูดอธิบายเกี่ยวกับนิทานที่ฟังและลักษณะของตัวละครได้
ทักษะ
สามารถสร้างสรรค์ภาพประกอบ ของตนเองได้
สามารถสื่อสารกับผู้อื่น และนำเสนองานได้อย่างมั่นใจ
สามารถฟังและแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์
 - เขียนถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการบันทึกต่างๆได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เคารพสิทธิ์ตนเองและผู้อื่น เช่น ตั้งใจฟัง ยกมือก่อนพูด ส่งงานตรงเวลาฯลฯ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น